แนะนำวิธีกินแบบพอเพียงช่วงโควิด–19 ดังนี้
1) กินพออิ่มในแต่ละมื้อ ตักอาหารปริมาณที่พอเหมาะไม่มากจนเกินไป
2) ดัดแปลงอาหารที่เหลือเป็นอาหารจานใหม่ เช่น ผัดคะน้า นำมาต้มจับฉ่ายผสมกับผักอื่น ๆ น้ำแกงส้มที่เหลือสามารถเติมผักเพิ่ม เช่น ถั่วฝักยาว มะละกอ แครอท ผักบุ้ง ส่วนผลไม้ที่เหลือหลายชนิดนำมาทำเป็นสลัดผลไม้
3) เรียนรู้วิธีการเก็บรักษาอาหารแต่ละประเภท เพื่อยืดอายุการใช้งานของวัตถุดิบต่าง ๆ
4) หุงข้าวผสมข้าวโพด ถั่ว เผือก มัน เพื่อเพิ่มวิตามินและยังได้สารอาหารอื่น ๆ ด้วย
5) เลือกวัตถุดิบคุณภาพดีราคาถูก ในการทำเมนูอาหารเช่น อาหารประเภทเนื้อสัตว์ อาจใช้ ไข่ เต้าหู้ และถั่วเมล็ดแห้ง สลับเปลี่ยนหมุนเวียนกับเนื้อหมู ไก่ เลือกผักพื้นบ้าน ผลไม้ตามฤดูกาล
6) เพิ่มคุณค่าทางโภชนาการของอาหารสำเร็จรูปให้มากขึ้น เช่น นำบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปมาเพิ่มวัตถุดิบอาหารที่เสริมสร้างภูมิต้านทาน ผัก และสมุนไพร เช่น บะหมี่กึ่งสำเร็จรูปผัดกระเพรา หรือต้มยำทรงเครื่อง ปลากระป๋องห่อไข่
7) ลดการกินจุบ กินจิบ กินอาหารให้เป็นเวลา
8) งดการกินอาหารมื้อดึก เพราะจะสะสมเป็นไขมันแทน ทำให้น้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นได้
9) เคี้ยวอาหารช้า ๆ จะทำให้รู้สึกอิ่มเร็วกว่าเพราะร่างกายคนเราจะเริ่มรู้สึกอิ่มเมื่อกินอาหารไปประมาณ 20 นาที และ
10) ไม่กินทิ้งขว้าง มีวินัยในการซื้อและการกินที่ดี
โดยอาหารแห้งที่ซื้อมากักตุนคือ บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป เนื้อสัตว์แปรรูป เช่น หมูหยอง หมูแผ่น หมูทุบ ปลากระป๋อง ขนมหวาน เช่น ช็อคโกแลต เค้กคุกกี้ และอาหารสำเร็จรูปแช่แข็งตามลำดับ โดยอาหารประเภทฟาสต์ฟู้ดที่นิยมสั่งกันนั้น มักจะมีสารอาหารประเภทไขมันและโซเดียมสูง กินมากอาจสะสมเสี่ยงต่อการเกิดโรคอ้วนและเบาหวาน ความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูง โรคหัวใจและหลอดเลือด ตามมาได้ ดังนั้นเราควรหันมาออกกำลังกายเพื่อดูแลสุขภาพควบคู่กับการกินที่ถูกหลักโภชนาการ
ที่มา : กรมอนามัย