Heat stroke กับการออกกำลังกาย

Heat stroke เป็นภาวะฉุกเฉินทางการแพทย์ ซึ่งเกิดจากการที่ร่างกายมีอุณหภูมิกายสูง (มากกว่า 40 องศาเซลเซียส) จนร่างกายไม่สามารถลดอุณหภูมิกายลงได้ จนเป็นผลทำให้อวัยวะในร่างกายได้รับความเสียหายทุกระบบ และทำงานผิดปกติไปจนถึงขั้นร้ายแรงที่สุดคือการเสียชีวิต

ปัจจัยส่งเสริม คือ 1. อุณหภูมิที่สูงมากกว่า 35 องศาเซลเซียส เป็นผลทำให้ร่างกายไม่สามารถแผ่ความร้อนจากร่างกายสู่ภายนอกได้ 2. ความชื้นที่สูง (มากกว่า 35 เปอร์เซนต์) เป็นผลทำให้ร่างกายไม่สามารถขับเหงื่อได้  3. แรงลม ในภาวะที่มีแรงลมน้อย ทำให้ไม่สามารถพัดพาความร้อนได้

ประเภทของฮีทสโตรก

  1. Classical heat stroke: เกิดจากการที่อยู่ในสิ่งแวดล้อมที่มีอุณหภูมิสูงต่อเนื่องเป็นเวลานาน
  2. Exertional heat stroke: เกิดจากการออกกำลังกายหรือการทำงานจนทำให้อุณหภูมิกายสูง ในสิ่งแวดล้อมที่เสี่ยงต่อการเกิดฮีทตโตรก ส่งผลเซลล์ต่างๆทำงานหนักและทำให้อุณหภูมิกายสูงจนไม่สามารถลดอุณหภูมิลงได้

การออกกำลังกายเกิดฮีทสโตรกได้อย่างไร
มีการรายงานถึงการเกิดภาวะโรคฮีทสโตรก ในฤดุกาลอื่นที่ไม่ใช่ฤดูร้อน เป็นผลมาจากความชื้นในอากาศที่สูงและไม่มีแรงลม ทำให้ไม่สามารถขับความร้อนและพัดพาความร้อนจากร่างกายไปได้ การออกกำลังกายที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดฮีทสโตรก คือการออกกำลังกายแบบ moderate to high intensity นานกว่า 1 ชั่วโมง เช่น การวิ่งมาราธอน การเต้นแอโรบิก เป็นต้น โดยอาการจะเริ่มจากลมแดด คือมีอาการ ปวดเกร็งกล้ามเนื้อ เวียนศรีษะ คลื่นไส้อาเจียน รู้สึกหน้ามืด เหงื่อออกลดลงกว่าเดิมหรืออาจไม่มีเหงื่อ จนมีอาการของฮีทสโตรกคือ หมดสติ ชักเกร็ง จนทำให้เสียชีวิตได้

การป้องกันการเกิดฮีทสโตรก
1.ดื่มน้ำให้เพียงพอ (ดื่มน้ำก่อนและหลังออกกำลังกาย 0.5-1L และดื่ม sport drink 250 ml ทุกๆ 20นาที)
2.เลือกเสื้อผ้าที่บาง ระบายเหงื่อได้ดี และไม่ใส่เสื้อสีทึบ
3.ในการออกกำลังกายกลางแจ้งที่นาน ควรเข้าพักในในที่ร่มๆทุก 2 ชั่วโมง หรือถ้ามีอาการของลมแดดควรหยุดออกกำลังกายทันที ส่วนการออกกำลังกายในที่ร่มควรเปิดแอร์ หรือหน้าต่างเพื่อระบายความร้อน
4.ควรมีการซ้อมเพื่อปรับร่างกายประมาณ 5-7 วัน โดยเริ่มจากเวลาสั้นๆก่อน
5.งดการทานเครื่องดื่มที่มี alcohol
6.ในรายที่มีอาการของลมแดดและฮีทสโตรก ควรงดการออกกำลังกายหลังจากการรักษาเสร็จ 1-2 อาทิตย์

การปฐมพยาบาลผู้ป่วยฮีทสโตรก
หลักการสำคัญคือการลดอุณหภูมิร่างกายให้เร็วที่สุด โดยสามารถทำได้ดังนี้
1.โทร 1669 เรียกบริการการแพทย์ฉุกเฉิน
2.รีบนำผู้ป่วยเข้าที่ร่ม
3.ปลดเสื้อผ้าผู้ป่วยออกให้มากที่สุดเพื่อเป็นการระบายความร้อน
4.เปิดพัดลมเพื่อเป็นการไล่ความความร้อน หรือ การเปิดแอร์
5.เช็ดตัวผู้ป่วยด้วยน้ำปกติหรือน้ำเย็น หรือ การใช้ สเปรย์ฉีดน้ำไปบริเวณตัวผู้ป่วย หรือ นำ cooling gel มาวางตามบริเวณซอกคอ และข้อพับ หรือถ้ามีน้ำแข็งสามารถใช้น้ำแข็งถูคนไข้ได้ในระยะเวลาสั้นๆ โดยวิธีต่างๆสามารถทำพร้อมกันได้ เพื่อเป็นการลดอุณหภูมิร่างกายอย่างรวดเร็ว จนกว่าทีมแพทย์ฉุกเฉินมาถึง ถ้าผู้ป่วยมีสติรู้เรื่องให้รับประทานน้ำปริมาณมากๆ
6.ถ้าผู้ป่วยหมดสติ ไม่หายใจ ให้ทำการ CPR จนกว่าทีมแพทย์ฉุกเฉินจะมาถึง

ขอบคุณแหล่งที่มา : อาจารย์แพทย์ประจำภาควิชาเวชศาสตร์ฉุกเฉิน คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล