การบริหารความเสี่ยง

การกีฬาแห่งประเทศไทย (กกท.) ตระหนักและเห็นความสำคัญของการบริหารความเสี่ยง โดยนำกระบวนการบริหารความเสี่ยงมาใช้เป็นเครื่องมือในการบริหารจัดการองค์กรให้มีประสิทธิภาพสามารถสร้างมูลค่าเพิ่ม (Value Enhancement) ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงพัฒนาการของการบริหารความเสี่ยงตั้งแต่ การกำกับและสร้างวัฒนธรรมความเสี่ยง การกำหนดนโยบาย/กลยุทธ์ในการบริหารความเสี่ยง การกำหนดวัตถุประสงค์และยุทธศาสตร์องค์กรที่ชัดเจน กระบวนการในการจัดการความเสี่ยงที่เป็นระบบตั้งแต่การระบุความเสี่ยง การกำหนดความเพียงพอของกิจกรรมการควบคุมภายใน การประเมินความเสี่ยงและการบริหารความเสี่ยงในแต่ละประเภท ตลอดจนบูรณาการด้านการกำกับดูแลกิจการที่ดี การบริหารความเสี่ยง และการควบคุมภายใน (Governance Risk and Compliance : GRC) เพื่อขับเคลื่อนองค์กรให้มีความเข้าใจ เห็นความสำคัญต่อความคาดหวังของผู้มีส่วนได้เสีย (Stakeholders) และการควบคุมภายในซึ่งเป็นกระบวนการทำงานที่กำหนดขึ้นมาเพื่อให้ฝ่ายบริหาร เกิดความมั่นใจอย่างสมเหตุสมผลว่าการดำเนินงาน  จะบรรลุวัตถุประสงค์อย่างมีประสิทธิผลและประสิทธิภาพ สร้างความน่าเชื่อถือของรายงานทางการเงิน การปฏิบัติตามกฎหมาย ระเบียบและข้อบังคับที่เกี่ยวข้องโดยแบ่งเป็น 4 ประเภท ตามหลักเกณฑ์ COSO ได้แก่

  • ความเสี่ยงด้านกลยุทธ์ (Strategic Risk : S)

  • ความเสี่ยงด้านการดำเนินงาน (Operational Risk : O)

  • ความเสี่ยงด้านการเงิน (Financial Risk : F)

  • ความเสี่ยงด้านกฎระเบียบต่างๆ (Compliance Risk : C)

กกท. ดำเนินการทบทวนและปรับปรุงการบริหารความเสี่ยงอย่างสม่ำเสมอ ตามสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไป และผลการบริหารที่เกิดขึ้น ที่อาจส่งผลให้วัตถุประสงค์ ตัวชี้วัดที่สำคัญไม่เป็นไปตามเป้าหมายที่กำหนด ตามระบบประเมินผลรัฐวิสาหกิจ หลักเกณฑ์การประเมินกระบวนการปฏิบัติงานและการจัดการ (Enablers) ด้านการบริหารความเสี่ยงและการควบคุมภายใน โดยปรับรายละเอียด ค่าโอกาส และผลกระทบของสาเหตุที่แท้จริง ให้สอดคล้องกับตัวชี้วัด ค่าเป้าหมาย และแผนการบริหารความเสี่ยงให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น โดยทบทวนแผนการบริหารความเสี่ยงและควบคุมภายใน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 (ทบทวนกลางปี) ประกอบด้วย 6 ปัจจัยเสี่ยง (11 สาเหตุ) มีความเสี่ยงสูงกว่าระดับที่ กกท. รับได้  5 ปัจจัย และจัดทำแนวทางและแผนการบริหารความเสี่ยง จำนวน 6 แผน ดังนี้

ปัจจัยเสี่ยง RF1 การพัฒนาศักยภาพนักกีฬาเพื่อเข้าร่วมการแข่งขันกีฬาระดับนานาชาติ ไม่เป็นไปตามเป้าหมาย

               เป้าหมาย : ผลความสำเร็จในการแข่งขันกีฬาระดับนานาชาติ

แนวทางและแผนบริหารความเสี่ยง :

  1. จัดทำแผนติดตามและวิเคราะห์ความสำเร็จการพัฒนาศักยภาพนักกีฬาฯ

  2. สนับสนุนวิทยาศาสตร์การกีฬาตามรูปแบบศูนย์ฝึกกีฬา (NTC)

ปัจจัยเสี่ยง RF2 ไม่สามารถพัฒนานักกีฬาและบุคลากรกีฬาอาชีพให้มีรายได้ตามเกณฑ์ที่กำหนด

เป้าหมาย : รายได้ของนักกีฬาและบุคลากรกีฬาอาชีพ ตามเกณฑ์มาตรฐานฯ

แนวทางและแผนบริหารความเสี่ยง : 3. สนับสนุนการจัดการแข่งขันกีฬาอาชีพเพิ่มขึ้น

ปัจจัยเสี่ยง RF3 ไม่บรรลุเป้าบริหารจัดการองค์กร ตามระบบการประเมินผลรัฐวิสาหกิจใหม่ (SE-AM)

เป้าหมาย : ผลการประเมินด้านบริหารจัดการองค์กร (Core Business Enablers)

แนวทางและแผนบริหารความเสี่ยง ติดตามการควบคุมภายใน โดยการนำกระบวนการบริหารจัดการที่สำคัญ (QWP) ไปใช้

ปัจจัยเสี่ยง RF4 มูลค่าเศรษฐกิจจากกิจกรรมและการแข่งขันกีฬา ไม่เป็นไปตามเป้าหมาย

เป้าหมาย : มูลค่าทางเศรษฐกิจจากกิจกรรมกีฬา

แนวทางและแผนบริหารความเสี่ยง :

  1. สนับสนุนการจัดกิจกรรม/รายการแข่งขันกีฬาตามรูปแบบ New Normal เพิ่มขึ้น

  2. เร่งรัดการจัดทำแผนการสนับสนุนธุรกิจกีฬา

ปัจจัยเสี่ยง RF5 การบริหารรายได้นอกงบประมาณ ไม่เป็นไปตามเป้าหมาย

เป้าหมาย : สัดส่วนรายได้ กกท.

แนวทางและแผนบริหารความเสี่ยง : 6. ทบทวนและจัดทำแผนการบริหารสินทรัพย์

ปัจจัยเสี่ยง RF6 การดำเนินงานไม่เป็นไปตามกฎหมาย ระเบียบ และข้อบังคับที่เกี่ยวข้อง

เป้าหมาย : บุคลากรมึความรู้ความเข้าใจตามกระบวนการกฎหมาย

แนวทางและแผนบริหารความเสี่ยง : ติดตามการควบคุมภายใน  การสื่อสารตามแผน และประเมินผู้เข้ารับการอบรมผ่านเกณฑ์การประเมินฯ

หมายเหตุ ปรับปัจจัยเสี่ยง เรื่อง ผลกระทบจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 (โควิด-19) ในการปฏิบัติตามมาตรการปลอดภัยสำหรับองค์กร สำหรับการจัดการแข่งขันกีฬาและมหกรรมกีฬา ของกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ไปเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการควบคุมภายในในการจัดการแข่งขันกีฬาทุกระดับ

 

ดาวน์โหลดคู่มือบริหารความเสี่ยง ปี 2565

[s_stat]