เกี่ยวกับ กกท. และอำนาจหน้าที่ตามกฏหมาย

ประวัติ การกีฬาแห่งประเทศไทย

“การกีฬาแห่งประเทศไทย” เรียกโดยย่อว่า “กกท.” มีชื่อเป็นภาษาอังกฤษว่า “Sports Authority of Thailand” เรียกโดยย่อว่า “SAT” จัดตั้งโดยพระราชบัญญัติ การกีฬาแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2528 ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 102 ตอนที่ 149 ลงวันที่ 17 ตุลาคม 2528 เพื่อจัดตั้ง “การกีฬาแห่งประเทศไทย (กกท.) แทน “องค์การส่งเสริมกีฬาแห่งประเทศไทย” (องค์การส่งเสริมกีฬาแห่งประเทศไทย จัดตั้ง เมื่อวันที่ 12 กันยายน 2507) เป็นรัฐวิสาหกิจสังกัดสํานักนายกรัฐมนตรี เพื่อเป็นการยกระดับให้มีการบริหารงานอย่างเพียงพอต่อการขยายตัวของการกีฬาในชาติ และ เมื่อมีพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ.2545 ได้มีการจัดตั้งกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาขึ้น เมื่อวันที่ 3 ตุลาคม 2545 และให้การกีฬาแห่งประเทศไทย โอนไปสังกัดกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาแทนสํานักนายกรัฐมนตรี ตั้งแต่วันที่ 9 ตุลาคม 2545 เป็นต้นไป
ต่อมาได้มีการปรับปรุงกฎหมายว่าด้วยการกีฬาแห่งประเทศไทย เนื่องจากมี บทบัญญัติบางประการไม่สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน โดยยกเลิกพระราชบัญญัติการกีฬาแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2528 และมีการตราพระราชบัญญัติการกีฬา แห่งประเทศไทย พ.ศ. 2558 ขึ้น ซึ่งประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 132 ตอนที่ 21ก ลงวันที่ 26 มีนาคม 2558 โดยนัยแห่งพระราชบัญญัตินี้ได้กําหนดให้มีการจัดตั้งกองทุน พัฒนาการกีฬาแห่งชาติขึ้นในการกีฬาแห่งประเทศไทย กําหนดหลักเกณฑ์เกี่ยวกับ การจดทะเบียนจัดตั้งสมาคมกีฬา และมาตรการในการกํากับดูแลการดําเนินการ ของสมาคม คณะกรรมการสมาคมกีฬาให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น และให้การกีฬาแห่ง ประเทศไทย มีวัตถุประสงค์ในการจัดตั้ง ดังนี้

1. ส่งเสริมกีฬา
2. ทําหน้าที่เป็นศูนย์กลางในการประสานงานเกี่ยวกับการกีฬา
3. ศึกษา วิเคราะห์ วิจัย และจัดทําโครงการ แผนงาน และสถิติเกี่ยวกับการส่งเสริมการกีฬารวมทั้งประเมินผล
4. จัด ช่วยเหลือ แนะนํา และร่วมมือในการจัดและดําเนินกิจกรรมกีฬา
5. สํารวจ จัดสร้าง และบูรณะสถานที่สําหรับการกีฬา
6. ติดต่อร่วมมือกับองค์การหรือสมาคมกีฬาทั้งในและนอกราชอาณาจักร
7. สอดส่องและกํากับดูแลการดําเนินกิจกรรมกีฬา
8. ริเริ่ม พัฒนา ส่งเสริม และสนับสนุนการกีฬาคนพิการ
9. ประกอบกิจการอื่นๆ อันเกี่ยวแก่หรือเพื่อประโยชน์ของการกีฬา

ตราสัญลักษณ์ “การกีฬาแห่งประเทศไทย”
ตามกฎกระทรวง (พ.ศ. 2529) ออกตามความในพระราชบัญญัติการกีฬาแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2528 ได้กําหนดรูป ลักษณะตราสัญลักษณ์ของการกีฬาแห่งประเทศไทยดังนี้
“มีลักษณะเป็นรูปคล้ายพระอินทร์ทรงช้างเอราวัณ (ช้างสามเศียร) เบื้องล่างมีช่อชัยพฤกษ์โฮบขึ้นสองข้างและมีอักษรย่อ กกท.” อยู่ด้านล่างโค้งสัมพันธ์กับซ่อชัยพฤกษ์”
และหลังจาก การปฏิรูประบบราชการในปี พ.ศ. 2545 การกีฬาแห่งประเทศไทยยังคงใช้ตราเครื่องหมายเติม
ความหมายของตราสัญลักษณ์
พระอินทร์เป็นเทพเจ้าผู้ยิ่งใหญ่องค์แทน ธรรมชาติเป็นองค์แทนความสมบูรณ์ แสดงถึง อํานาจขจัดปัญหาอุปสรรคและความไม่ดี (อวมงคล) ทั้งยังเป็นเครื่องหมายที่ยังแสดงถึงปัญญาอันแหลมคมในการเอาชนะอุปสรรคขัดข้องต่างๆ ซึ่ง ประทับบนช้างเอราวัณอันเป็นพาหนะประจํา ของพระอินทร์ พระหัตถ์ขวาถือวชิราวุธ (อาวุธ ที่แกร่งประตุจเพชร) ยื่นออกข้างกายโดยถือว่าเป็นสัญลักษณ์ของความไม่หมดสิ้นความเหนือ สิ่งบกพร่องทั้งปวง ความรู้ในสัจธรรมการเป็น เอกภาพไม่พึ่งพิงสิ่งใดจัดเป็นสิ่งแสดงความเป็น มงคลและศักดิ์สิทธิ์ พระหัตถ์ซ้ายถือตะขอช้างซ่อชัยพฤกษ์ คือ ใบต้น Laurel หรือ Laurel Oak รูปคล้ายใบกระวานชาวกรีกใช้ใบ Laurel เป็น เครื่องหมายแสดงชัยชนะโดยทําเป็นพวงกลมๆ สวมศีรษะนักกีฬาหรือนักรบที่ชนะคู่ต่อสู้ “ช่อชัยพฤกษ์” แปลว่า “ช่อใบไม้แห่งชัยชนะ”

ตราสัญลักษณ์ “SAT”
การกีฬาแห่งประเทศไทยดําเนินการ ออกแบบตราสัญลักษณ์ (Logo) ขึ้นใหม่และ จดทะเบียนโดยกรมทรัพย์สินทางปัญญา ซึ่งตราสัญลักษณ์นี้ใช้ในการดําเนินการเกี่ยวกับระบบธุรกิจและสิทธิประโยชน์

อำนาจหน้าที่ตามกฏหมาย

อำนาจหน้าที่ตามพันธกิจ