เติมความหวานให้ชีวิตและสุขภาพ

          สารให้ความหวานแทนน้ำตาล (Sweetener) เป็นวัตถุเจือปนอาหารชนิดหนึ่งที่ใช้เพิ่มความหวานให้กับอาหารและเครื่องดื่มแทนน้ำตาล มีทั้งแบบให้พลังงานและไม่ให้พลังงาน โดยนิยมใช้ในผู้ที่ต้องการควบคุมระดับน้ำตาลและพลังงาน อย่างผู้ป่วยโรคเบาหวานและผู้ที่กำลังควบคุมน้ำหนัก
สารให้ความหวานส่วนใหญ่มักใช้ในปริมาณที่เล็กน้อยเนื่องจากให้ความหวานกว่าน้ำตาลหลายเท่าและยังช่วยลดพลังงานที่ได้รับเข้าสู่ร่างกาย ซึ่งสารให้ความหวานที่หลายคนอาจเคยได้ยิน อย่างแอสปาร์แตม ขัณฑสกร และน้ำตาลหญ้าหวาน ที่ให้ความหวานแทนน้ำตาลให้มากขึ้น ทั้งชนิด ประโยชน์ และข้อจำกัดในการใช้
ชนิดของสารให้ความหวานแทนน้ำตาล
ในปัจจุบัน สารให้ความหวานที่นิยมนำมาทดแทนน้ำตาลแบ่งได้เป็น 2 ชนิด ดังนี้

  1. สารให้ความหวานแทนน้ำตาลแบบให้พลังงาน

สารให้ความหวานแทนน้ำตาลในกลุ่มนี้มักเป็นน้ำตาลแอลกอฮอล์ (Polyols) เป็นสารให้ความหวานที่ยังคงให้พลังงานอยู่ แต่ให้ในปริมาณที่ค่อนข้างต่ำและดูดซึมได้ช้ากว่าน้ำตาลปกติ จึงอาจช่วยป้องกันภาวะน้ำตาลในเลือดสูงฉับพลันหลังจากรับประทานอาหาร ซึ่งเป็นภาวะที่อันตรายในกลุ่มผู้ป่วยเบาหวาน นอกจากนี้ น้ำตาลแอลกอฮอล์ยังไม่ทำให้เกิดฟันผุอีกด้วย โดยทั่วไป พบได้ในวัตถุดิบธรรมชาติและสังเคราะห์ขึ้น ทั้งในอาหารและของใช้ เช่น หมากฝรั่งไม่มีน้ำตาล ลูกอม ไอศกรีม แยม ยาน้ำ ยาอม ยาสีฟัน และน้ำยาบ้วนปาก เป็นต้น
ตัวอย่างของสารให้ความหวานในกลุ่มน้ำตาลแอลกอฮอล์ ได้แก่
ซอร์บิทอล (Sorbitol)
ไซลิทอล (Xylitol)
ไอโซมอลท์ (Isomalt)
แมนนิทอล (Mannitol)
มอลทิทอล (Maltitol)
อิริทริทอล (Erythritol)

  1. น้ำตาลเทียม (Artificial Sweeteners)

น้ำตาลเทียมเป็นสารให้ความหวานแทนน้ำตาลที่สังเคราะห์ขึ้น มีหลายชนิด แต่ละชนิดมีลักษณะการใช้และข้อจำกัดที่แตกต่างกัน ส่วนใหญ่ให้ความหวานกว่าน้ำตาลหลายร้อยเท่า จึงใช้ในปริมาณที่น้อยมากและทำให้เครื่องดื่มหรืออาหารนั้นมีพลังงานต่ำ ในปัจจุบันผลิตภัณฑ์บางชนิดที่มีน้ำตาลเป็นส่วนประกอบน้อยกว่า 0.5 กรัม คณะกรรมการอาหารและยาอาจอนุญาตให้ระบุว่าเป็นผลิตภัณฑ์ที่ไม่ให้พลังงานหรือศูนย์แคลอรี่
กระทรวงสาธารณสุขแนะนำว่า ในแต่ละวันผู้ใหญ่ควรได้รับน้ำตาลไม่เกิน 24 กรัมหรือเทียบเท่า 6 ช้อนชา เด็กและผู้ที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป ควรได้รับน้ำตาลไม่เกิน 16 กรัมหรือเทียบเท่าน้ำตาล 4 ช้อนชา สำหรับผู้ที่มีโรคประจำตัว กำลังใช้ยา กำลังตั้งครรภ์ หรือให้นมบุตร ปริมาณน้ำตาลที่เหมาะสมอาจเปลี่ยนไปตามสภาวะร่างกาย หากเป็นผู้ที่ชื่นชอบรับประทานของหวานหรือเครื่องดื่มที่มีน้ำตาล ควรจำกัดการได้รับน้ำตาลในแต่ละวัน เลือกใช้สารให้ความหวานพลังงานต่ำ ร่วมกับการออกกำลังกายอย่างเหมาะสม เพราะการบริโภคน้ำตาลมากเกินอาจเป็นสาเหตุของโรคเรื้อรังได้หลายโรค
สุดท้ายนี้ สารให้ความหวานแทนน้ำตาลเป็นเพียงตัวเลือกที่อาจช่วยให้การควบคุมน้ำตาลและพลังงานทำได้ง่ายขึ้น แต่หากสามารถควบคุมระดับน้ำตาลในแต่ละวันได้ด้วยตนเอง วัตถุเจือปนอาหารเหล่านี้อาจไม่มีความจำเป็น

ขอบคุณแหล่งที่มา : กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข